ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจำแนกที่มาของอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คือ
1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกำหนด สามารถแบ่งแยกประเภทอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอำนาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่าง ๆ ดังนี้
1.1 หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ มาตรา 50
เทศบาลตำบล
1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. ให้มีและบำรุงทางบกปละทางน้ำ
3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7. หน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยหรือกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าของเทศบาล
1.2 อำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ (มาตรา 51)
เทศบาลตำบล
1. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4. ให้มีสุส่านและฌาปณสถาน
5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9. เทศพาณิชย์
2. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ กำหนด นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น - พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ. 2464 - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 - พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 - พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ. 2490 - พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 - พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495 - พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2498 - พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 - พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 - พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 - พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดรถยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503 - พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 - พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 - พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 - พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 - พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 - พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523 - พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526 - พระราชบัญญัติสุสานและฌาปณสถาน พ.ศ. 2528 - ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502 - ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 ( กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง) - ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับวันที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ( กฎหมายว่าด้วยทางหลวง) - ประมวลกฎหมายที่ดิน(ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย 890/2498
นอกจากอำนาจหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องปฏิบัติ หรือ เลือกปฏิบัติรวมทั้งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆแล้วยังมีหน้าที่ บางประการที่เทศบาลสามารถดำเนินการดังนี้
หน้าที่ที่จัดนอกเขตเทศบาล ซึ่งมีหลักเกณฑ์ 3 ประการดังนี้ 1. เมื่อการนั้นจำเป็นต้องทำ และเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่ ที่อยู่ในเขตของตน 2. เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาลสภาจังหวัด หรือสภาตำบลแห่งท้องที่เกี่ยวข้อง และ 3. เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมาตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หน้าที่ที่จัดทำร่วมกับบุคคลอื่น พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ส. 2511 ได้มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่เทศบาลต่างๆ ที่จะจัดกิจการใด ๆ ร่วมกับบุคคลอื่น โดยการก่อตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. บริษัทจำกัดนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขาย อันเป็นสาธารณูปโภค 2. เทศบาลต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนที่บริษัทนั้นจะทะเบียนไว้ในหลาย เทศบาล องค์การ บริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสุขาภิบาลถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ 3. เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ กฎหมายยังได้บทบัญญัติไว้ด้วยว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่เทศบาลถืออยู่ในบริษัทจำกัด ต้องได้ รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งสหการ เป็นการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ที่จะร่วมทำประโยชน์ภายในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล เทศบาลสามารถจัดตั้งสหการได้ตามบทบัญญัติมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติพ.ศ. 2496 นี้ " ถ้ามีกิจการใดอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำ เพื่อให้เกิด ประโยชน์ อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งองการขึ้นเรียกว่าสหการ มีสภาเป็นทบวงการเมือง และ มีคณะกรรม การบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของ เทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
การจัดตั้งสหการจะทำได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะได้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่และระเบียบการ ดำเนินงานไว้การยุบเลิกสหการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย"
ผู้ก่อตั้งจะต้องเสนอให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและอาจกู้เงินได้ภายใต้บังคับมาตรา 66(5) จากพันธบัตรหรือเงินกู้ ตามแต่กฎหมายกำหนดไว้หรือ ( 6) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม หรือนิติบุคคลต่าง ๆ อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลตำบลนาทวี ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เทศบาลตำบลนาทวีมีหน้าที่ดังนี้ 1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ 3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินสาธารณะ รวมทั้งจำกัดมูลฝอยและปฏิกูล 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ 5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง 6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม 7. หน้าที่อื่นๆ ซึ่งมีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยหรือกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล 8. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ 9. ให้มีและบำรุงสถานที่การพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ 10. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ 11. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ 12. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 13. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและบุตร 14. กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข นอกจากนี้แล้วเทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ 1. ให้มีตลาด 2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน 3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก 5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล 6. ให้มีการสาธารณูปการ 7. จัดทำกิจกรรมซึ่งจำเป็นเพิกการสาธารณสุข 8. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ที่พักผ่อนหย่อนใจ 9. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น 10. เทศพาณิชย์